About admin

This author has not yet filled in any details.
So far admin has created 10 blog entries.

มกราคม 2017

มหาดไทยเร่งพัฒนาระบบบริการสาธารณูปโภคพื้นฐานไฟฟ้า – ประปา มอบเป็นของขวัญให้ประชาชนในปี 2559 ภายใต้แนวคิด “เสริมสร้างชีวิตใหม่ ให้คนไทยมีความสุข”

12 มกราคม 2017|ข่าวสาธารณูปโภค|

วันนี้ (20ม.ค.59) พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ กระทรวงมหาดไทยจึงได้ดำเนินโครงการ “ลดความเหลื่อมล้ำ แบ่งปันความสุข” เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รับบริการที่ดีจากภาครัฐอย่างเท่าเทียม ทั่วถึง และเป็นธรรม โดยเฉพาะการให้บริการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานไฟฟ้า ประปา ซึ่งถือเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตของประชาชน และเป็นบริการที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทยและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนั้น กระทรวงมหาดไทยจึงได้มีนโยบายเร่งรัดดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและขยายเขตพื้นที่ให้บริการระบบสาธารณูปโภคไฟฟ้า น้ำประปา ให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ชนบทห่างไกล พื้นที่เกษตรกรรมหรือถิ่นทุรกันดาร โดยมีภาพรวมแผนงาน/โครงการการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคที่จะดำเนินการในปีงบประมาณ 2559 ดังนี้ 1. โครงการขยายพื้นที่ให้บริการไฟฟ้าให้กับบ้านเรือนราษฎรรายใหม่ในพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งจากข้อมูลในปัจจุบันพบว่ามีจำนวนผู้ใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ส่วนภูมิภาค ประมาณ 18 ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 99.98 ของจำนวนครัวเรือนทั้งประเทศ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจึงได้วางเป้าหมายขยายพื้นที่ให้บริการไฟฟ้าให้แก่ประชาชนที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ โดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลอีกจำนวน 35,000 ครัวเรือน และยังมีโครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้าส่องสว่างบริเวณโบราณสถานที่มีชื่อเสียงและเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อดูแลความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวและเป็นการอนุรักษ์พลังงาน โดยเปลี่ยนมาใช้หลอดประหยัดไฟชนิด LED เริ่มดำเนินการในสถานที่สำคัญ 9 แห่ง อาทิ บริเวณวัดโสธรวรารามวรวิหาร องค์พระปฐมเจดีย์ และมัสยิดกลางปัตตานี เป็นต้น สำหรับในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการมีผู้ใช้ไฟฟ้าประมาณ 3.5 ล้านราย ซึ่งถือว่าประชาชนมีไฟฟ้าใช้ในครัวเรือนอย่างทั่วถึงครอบคลุมทุกพื้นที่ การไฟฟ้านครหลวงก็ได้พัฒนาคุณภาพระบบจำหน่ายไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นและการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยดำเนินการตามแผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้า และแผนงานเปลี่ยนสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินที่ได้ดำเนินการตั้งแต่ปี 2558 ไปจนถึง 2564 ในพื้นที่ 6 โครงการ รวมระยะทาง 53.3 กิโลเมตร ได้แก่ โครงการสุขุมวิท โครงการจิตรลดา ปทุมวัน และพญาไท โครงการนนทรี โครงการพระราม 3 โครงการรัชดาภิเษก-อโศก และโครงการรัชดาภิเษก-พระรามเก้า และโครงการเปลี่ยนโคมไฟฟ้าสาธารณะมาใช้หลอด LED ในถนนสายหลักที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว 12 สาย และชุมชนต่างๆ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และนักท่องเที่ยว 2. ในส่วนของการขยายพื้นที่ให้บริการน้ำประปาก็มีได้มีแผนงานที่จะขยายพื้นที่ให้บริการกว่า 2.3 ครัวเรือน และการเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้ ทั้งนี้ จากข้อมูลในปัจจุบันสำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลการประปานครหลวงได้ให้บริการน้ำประปาแก่ผู้ใช้น้ำประมาณ 2.2 ล้านครัวเรือน หรือประมาณ 12 ล้านคน มีพื้นที่ให้บริการคิดเป็นร้อยละ 99 ของพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด อย่างไรก็ตามพบว่าในเขตพื้นที่รอบนอกกรุงเทพมหานคร บางพื้นที่ยังไม่มีน้ำประปาใช้ หรือบางส่วนเป็นชุมชนที่อยู่ห่างไกลเส้นท่อประปา หรือชุมชนที่บริการยังเข้าไปไม่ถึงทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน จึงได้มอบหมายให้การประปานครหลวงเร่งรัดดำเนินการขยายบริการน้ำประปาให้ทั่วถึง โดยได้เตรียมงบประมาณสำหรับวางท่อประปาเพื่อขยายพื้นที่ให้บริการไว้แล้ว จำนวน 200 ล้านบาท คาดว่าจะสามารถให้บริการประชาชนให้มีน้ำประปาใช้เพิ่มขึ้นอีก2,662 ครัวเรือน หรือประมาณ 11,447 คน สำหรับรในส่วนภูมิภาค ซึ่งเป็นเขตพื้นที่ให้บริการของการประปาส่วนภูมิภาคและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ประปาหมู่บ้าน) ปัจจุบันการประปาส่วนภูมิภาคได้ให้บริการน้ำประปาแก่ผู้ใช้น้ำประมาณ 3.9 ล้านครัวเรือน โดยในปีนี้ได้มีการเร่งรัดดำเนินโครงการลงทุนเพื่อให้บริการน้ำประปาแก่ประชาชนในส่วนภูมิภาค เป็นเงินงบประมาณรวมกว่า 2,337 ล้านบาท มีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนได้ใช้น้ำประปาที่สะอาดมีคุณภาพได้มาตรฐานเพิ่มขึ้นอีก 2.3 แสนครัวเรือน หรือประมาณ 6.9 แสนคน ในส่วนของพื้นที่ให้บริการประปาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ประปาหมู่บ้าน) ที่ดำเนินการโดยเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลก็ได้มีการเร่งรัดให้ดำเนินการจัดหาน้ำอุปโภคบริโภคให้เพียงพอ รวมถึงการพัฒนาคุณภาพน้ำประปาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามข้อกำหนดด้วย และเพื่อให้มั่นใจว่าในช่วงฤดูแล้งนี้ประชาชนจะมีน้ำประปาใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอ กระทรวงมหาดไทยจึงได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการเพื่อบริหารจัดการแหล่งน้ำดิบและประเมินปริมาณน้ำต้นทุนมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2558 และได้ดำเนินการขุดลอก คูคลอง สูบผันน้ำ เจาะบ่อบาดาล ปรับปรุงแหล่งน้ำ ขุดสระเก็บน้ำ วางท่อน้ำดิบ ก่อสร้างระบบผลิตและวางท่อส่งน้ำ เพื่อเก็บกักน้ำไว้ให้ได้มากที่สุดภายใต้แผนงานระยะเร่งด่วน งบประมาณรวม 2,096 ล้านบาท ตลอดจน การรณรงค์ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการประหยัดน้ำซึ่งจะเป็นการช่วยลดผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งอีกทางหนึ่งด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงมหาดไทยมีความมุ่งมั่นตั้งใจอย่างยิ่งที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีความเท่าเทียมทั้งในสังคมเมืองและในชนบท โดยเฉพาะการจัดให้มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน   อันจําเป็นต่อการดํารงชีวิตของประชาชนให้มีมาตรฐานเดียวกันในทุกพื้นที่ของประเทศเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของสังคม ตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาลในการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค. ที่มา : http://www.thaigov.go.th/index.php/th/news-ministry/2012-08-15-09-42-33/item/99403-id-99403

เมียนมาใกล้เปิดนิคมอุตฯเมียวดี สาธารณูปโภคเสร็จแล้วกว่า90%

12 มกราคม 2017|ข่าวสาธารณูปโภค|

เมียนมาเล็งเปิดนิคมอุตสาหกรรมเมียวดี ซึ่งปัจจุบันกำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างในพื้นที่รัฐกะเหรี่ยง ประเทศเมียนมา ในปีงบประมาณ 2559-2560 โดยระบุมีผู้ลงทุนสนใจจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและสินค้าอุปโภคบริโภค มั่นใจมีไฟฟ้าใช้ตลอด 24 ชั่วโมงเนื่องจากจะซื้อกระแสไฟฟ้าจากประเทศไทยไปใช้ สื่อท้องถิ่นของเมียนมาระบุว่า นายอู ซอ จี ลิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมรัฐกะเหรี่ยง เปิดเผยถึงความคืบหน้าของโครงการว่า รัฐบาลท้องถิ่นไม่ได้กำหนดกรอบของโครงการเอาไว้ แต่มีความเป็นไปได้มากว่า การก่อสร้างจะแล้วเสร็จและพร้อมเปิดนิคมในปีงบประมาณ 2559-2560 นิคมดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นที่ 201 เอเคอร์ หรือมากกว่า 500ไร่ ระหว่างเมืองเมียวดีและเมืองติงัน ญี นอง ซึ่งห่างจากชายแดนไทย-เมียนมาเพียง 11 กิโลเมตร เส้นทางกรุงเทพฯ-ย่างกุ้งเริ่มแรกนั้นรัฐบาลท้องถิ่นได้มอบสัญญาสัมปทานให้บริษัท ญี นอง อู เป็นผู้เช่าที่ดิน เพื่อสร้างนิคมในปี 2556 วัตถุประสงค์เพื่อรองรับอุตสาหกรรมในท้องถิ่น แต่ต่อมามีการจัดประเภทโครงการใหม่และนิคมอุตสาหกรรมเมียวดีถูกจัดประเภทเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการการลงทุนแห่งเมียนมา หรือ MIC (Myanmar Investment Commission) เนื่องจากมีพื้นที่โครงการใกล้ชายแดนไทย ภายใต้กฎหมายการลงทุนต่างชาติปี 2555 กำหนดไว้ว่า ห้ามมีการลงทุนของต่างชาติภายในระยะ 10 ไมล์ (ประมาณ กิโลเมตร) จากชายแดนเมียนมากับประเทศเพื่อนบ้าน นอกเสียจากว่า การลงทุนนั้นจะอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมที่ได้รับการอนุมัติจาก MIC แล้ว ตั้งแต่นั้นมา นิคมอุตสาหกรรมเมียวดีจึงได้รับความสนใจเข้ามาลงทุนจากบริษัทต่างชาติเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะบริษัทจากประเทศไทย โดยเข้ามาจับมือเป็นหุ้นส่วนกับบริษัทท้องถิ่นในเขตเมียวดี นายอู จอ ทิน ผู้อำนวยการโครงการ บริษัท ญี นอง อู เปิดเผยว่า ขณะนี้การก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานในโครงการเสร็จสิ้นไปแล้วกว่า 90% ที่ดิน 450 แปลงมีการทำรังวัดและปักเขตแล้ว ส่วนผู้ลงทุนที่สนใจขณะนี้มีจำนวนอย่างน้อย 15 รายยื่นเอกสารขอจัดตั้งโรงงานเข้ามาแล้ว โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและสินค้าอุปโภคบริโภค นอกจากนั้นยังมีผู้ลงทุนในอุตสาหกรรมรองเท้า ชิ้นส่วนและอะไหล่รถยนต์ รวมทั้งแผ่นเหล็กชุบเคลือบสังกะสี นิคมอุตสาหกรรมเมียวดี เป็น 1 ใน 3 ของนิคมอุตสาหกรรมที่กำลังเกิดขึ้นในรัฐกะเหรี่ยง อีก 2 แห่ง ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมพะยาโตนซู และนิคมอุตสาหกรรมพะอัน เมียวดีเป็นเมืองที่ติดชายแดนไทยในเขตอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และเป็นจุดที่มีการค้าชายแดนคึกคักเป็นอันดับสองของเมียนมา รองจากเมืองมูเซในรัฐฉานซึ่งอยู่ติดชายแดนประเทศจีน สื่อเมียนมาระบุว่า ความล่าช้าของโครงการนั้น ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากการขาดแคลนกระแสไฟฟ้าและความไม่สงบในพื้นที่ อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีอุตสาหกรรมของรัฐกะเหรี่ยงยืนยันว่า สาธารณูปโภคพื้นฐานของนิคมอุตสาหกรรมเมียวดีจะไม่มีปัญหาเพราะได้ใช้กระแสไฟฟ้าจากประเทศไทยตลอด 24 ชั่วโมง “กระแสไฟฟ้าจากประเทศไทยนั้นสเถียรกว่าในเมียนมา ฉะนั้นจึงมั่นใจได้ว่า นิคมจะมีไฟฟ้าใช้ตลอด 24 ชั่วโมง” นายอู ซอ จี ลิน กล่าว นายอู จอ ทิน ผู้อำนวยการโครงการ จากบริษัท ญี นอง อู ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า บริษัทได้ยื่นขอการอนุมัติจาก MIC เพื่อซื้อกระแสไฟฟ้าจากประเทศไทยมาใช้ในโครงการ และขณะเดียวกันได้เจรจากับบริษัท อีโนวา พาวเวอร์ จากประเทศไทย เป็นผู้จัดหากระแสไฟฟ้าป้อนให้แก่โครงการแล้ว จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,133 วันที่ 21 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

แซส เปิดตัวเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูล ( Data Analytics) ในอุตสาหกรรมพลังงานและบริการสาธารณูปโภค ( Analytics in Energy& Utilities)

12 มกราคม 2017|ข่าวสาธารณูปโภค|

แนวโน้มการลงทุนด้าน “โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ หรือสมาร์ทกริด (Smart grid)“ ได้สะท้อนถึงโครงการด้านเทคโนโลยีสำคัญๆ หลายโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการในการให้บริการระบบสาธารณูปโภค โดยปัจจุบันจะเห็นว่าการลงทุนไม่ใช่เพียงแค่การติดตั้งเครื่องมือวัดปริมาณการใช้ไฟฟ้าตามบ้าน หรือองค์กรธุรกิจเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าใหม่ๆ ตลอดแนวเส้นทางสายส่งไฟฟ้า และเครือข่ายสื่อสัญญาณ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ หรือสมาร์ทกริด กรุงเทพฯ – นายซัทยาจิต ดวิเวดิ ผู้อำนวยการด้านพลังงานและการวางแผนกลยุทธ์ SAS Institute Inc.กล่าวว่า เทคโนโลยีสมัยใหม่ด้านโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ หรือสมาร์ทกริด  (Smart Grid) ปัจจุบันมีตัวอย่างของความสามารถใหม่ๆ ที่สามารถขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นได้ อาทิ การคิดอัตราค่าไฟฟ้าที่แตกต่างกันไปตามแต่ละช่วงเวลาที่ใช้งาน (time-of-use) การบริหารจัดการระบบไฟฟ้าขัดข้องที่มีความซับซ้อน และการตรวจจับการลักลอบใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งความสามารถใหม่ๆ เหล่านี้เพื่อตอบโจทย์ความต้องการ และอัตราการใช้พลังงานที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยไม่จำเป็นที่จะต้องสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ที่อาจก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศ ขณะเดียวกันการบริการด้านสาธารณูปโภคต่างๆ ยังมีความหวังด้วยว่า การลงทุนใหม่ๆจะช่วยยืดอายุการใช้งานให้กับโครงข่ายระบบสายส่งไฟฟ้าที่ตกยุคไปแล้ว อย่างไรก็ตามคุณประโยชน์เหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากไม่มีเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูล หากกล่าวถึงยักษ์หลับแห่งวงการอุตสาหกรรมของยุคกลางในศตวรรษที่ 20 แทบไม่หลงเหลือให้เห็นภูมิทัศน์เดิมๆ จากยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เกิดการเปลี่ยนแปลงกิจการสาธารณูปโภคด้านไฟฟ้า อันเนื่องมาจากแนวทางการกำกับดูแล การควบคุม โลกาภิวัตน์ และความยั่งยืนต่างๆ และนี่คือข้อเท็จจริงบางประการที่แสดงถึงปริมาณของระดับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยคาดการณ์ว่าทั่วยุโรป จะมีการติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะ 240 ล้านเครื่อง ภายในปี 2563 โดยในปี 2578 ผู้ผลิตไฟฟ้าของจีนและอินเดีย จะใช้ถ่านหินในการผลิตเพิ่มขึ้ 3 เท่าจากปี 2533 เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้ค้าปลีกกิจการสาธารณูปโภค รายหนึ่งในตลาดที่มีการแข่งขัน พบว่ามีอัตรายกเลิกใช้บริการของลูกค้า 17% ในช่วงเวลา 6 เดือน ขณะที่ในภูมิภาคหนึ่ง มีอัตรายกเลิกสูงถึง 26% สัดส่วน 30% ของแรงงานในภาคกิจการสาธารณูปโภคของยุโรป อยู่ในช่วงวัยอายุสูงกว่า 50 ปี ตัวอย่างเหล่านี้ สะท้อนภาพว่า บริการในกิจการสาธารณูปโภค กำลังอยู่ภายใต้แรงกดดันของการส่งมอบบริการจากสภาพแวดล้อมที่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้ในการช่วยทำงานในระดับสูง ด้วยอุปกรณ์ใหม่ๆ ที่มีความสามารถในการเชื่อมต่อ, ตอบสนองความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นในประเทศที่กำลังพัฒนา, และความคาดหวังในการรักษาลูกค้าไว้ให้ได้สำหรับตลาดที่มีการยกเลิกกฎเกณฑ์การกำกับดูแลอย่างสมบูรณ์แล้ว อย่างไรก็ตาม โชคร้ายที่ธุรกิจกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หรือแทบจะในระดับเดียวกันกับองค์ความรู้ที่กำลังหดหายไปเรื่อยๆ นายซัทยาจิต กล่าวเพิ่มเติมว่า กิจการสาธารณูปโภคแถวหน้าในปัจจุบันจำเป็นต้องมองหาสิ่งดีๆ ท่ามกลางสถานการณ์ที่ย่ำแย่ หลายองค์กรต่างก็กำลังใช้ข้อได้เปรียบของจุดที่มาบรรจบกันของกลไกตลาด เพื่อทำให้การบริหารจัดการข้อมูลพลังงานขนาดใหญ่ และความสามารถด้านการวิเคราะห์ข้อมูลขององค์กรทันต่อสถานการณ์ เพราะหากปราศจากเทคโนโลยีวิเคราะห์ข้อมูลเข้ามาช่วย องค์กรแถวหน้าจะไม่สามารถมีความหวังต่อความสำเร็จถึงประโยชน์ที่คาดหมายว่าจะได้รับจากโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะได้เลย ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้มีงานวิจัยที่เชื่อถือได้จาก โอวุ่ม (Ovum) เน้นย้ำว่า เฉพาะมิเตอร์อัจฉริยะ และโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ไม่สามารถนำข้อมูลเชิงลึกที่จะมาเปลี่ยนแปลงการทำงาน (actionable insight) หรือการสร้างความแตกต่างทางการแข่งขันออกมาได้ เพราะถ้ามิเตอร์แบบใหม่นี้จะมาเพิ่มประสิทธิภาพบริการสาธารณูปโภคให้มีความอัจฉริยะ ก็ต้องทำผ่านซอฟต์แวร์และบริการการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจอัจฉริยะ (BI) ด้วยโซลูชั่นเชิงนวัตกรรมจึงจะช่วยให้ระบบสาธารณูปโภคนั้นมีความฉลาด ในขณะที่ ข้อมูลที่เกือบจะเรียลไทม์บนโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง การวิเคราะห์ก็กำลังถูกประยุกต์ใช้ในการกำหนดสถานการณ์ที่ดีที่สุด เพื่อนำส่งพลังงานที่เชื่อถือได้ไปสู่ผู้บริโภคปลายทาง ยกตัวอย่างเช่น ผู้ให้บริการสาธารณูปโภค ออกแคมเปญรับสมัครลูกค้าเข้าร่วมโครงการความร่วมมือลดการใช้ไฟฟ้า (Demand Response Programs) วิเคราะห์ว่าในแต่ละเดือนจะจ่ายเงินชดเชยให้กับผู้เข้าร่วมโครงการที่มีการปรับแต่งอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานสิ้นเปลือง ในช่วงเวลาที่ระบบมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง รวมทั้งลูกค้าที่สมัครเข้าร่วมโครงการแต่ละราย จะมีการปรับลดปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าในระบบในอัตราที่แตกต่างกัน โดยผู้ให้บริการสาธารณูปโภคต้องกำหนดลงไปเลยว่า ลูกค้ารายใด กำหนดตารางเวลาในการลดความต้องการใช้พลังงานในช่วงเวลาไหน และในช่วงเวลาใด และเป็นระยะเวลานานเท่าไร ซึ่งในการกำหนด บริการสาธารณูปโภค ย่อมมีข้อมูลจำนวนมาก และรูปแบบการจำลองที่ผ่านการพิสูจน์แล้วว่า สามารถสนับสนุน การตัดสินใจนี้ได้ และสามารถเปลี่ยนผลลัพธ์ได้อย่างรวดเร็วและเชื่อถือได้ย่อมเป็นทางเลือกที่ดี นายทวีศักดิ์ แสงทอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท แซส ซอฟท์แวร์ (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวว่า ในการจัดการโครงข่ายที่มีความซับซ้อน หรือใกล้เคียงกันอย่างโครงข่ายโทรคมนาคม และกิจการสาธารณูปโภค จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่าย และปรับปรุงคุณภาพของการให้บริการ การส่งมอบพลังงาน โดยมุ่งเน้นไปยังพื้นที่ที่มีผลตอบแทนการลงทุนที่สำคัญไว้คือ การวางแผนที่ดี เพราะไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจการลงทุนที่เหมาะสมที่สุดเพื่อสร้างผลกำไร หรือการประมาณการณ์ความต้องการในการผลิตกระแสไฟฟ้าในระยะยาว การบูรณาการระหว่างเครื่องมือผลิตพลังงานขนาดเล็ก และพลังงานที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ รวมทั้งความสามารถของผู้ให้บริการในกิจการสาธารณูปโภค ในการนำส่งกำไรต่างๆ จะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เมื่อมีวางแผนการขับเคลื่อนข้อมูลพลังงานที่ถูกต้อง การเข้าถึงข้อมูลลูกค้าเชิงลึก ทั้งนี้จะเห็นว่าทุกๆ ปี องค์กรด้านพลังงานมีการตัดจำหน่ายลูกหนี้เป็นหนี้สูญนับล้านราย เนื่องจากลูกค้าเหล่านี้ไม่ชำระค่าใช้ไฟฟ้า ทำให้กิจการบริการสาธารณูปโภคเผชิญแรงกดดันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากผู้ถือหุ้น และหน่วยงานกำกับดูแล เพื่อลดความสูญเสียเหล่านี้ให้เหลือน้อยที่สุด และขณะเดียวกัน ก็ยังคงต้องให้บริการกับผู้บริโภคที่มีแนวโน้มจะไม่จ่ายค่าบริการต่อไป ดังนั้นการวิเคราะห์ข้อมูลในแนวทางการเข้าถึงลูกค้าจะสามารถช่วยให้บริการสาธารณูปโภคพิจารณาถึงความต้องการในการดูแลตามกฎระเบียบที่สมเหตุสมผล ร่วมกับการสร้างแบบประเมินความเสี่ยงสำหรับลูกค้าทุกรายบนพื้นฐานของการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ รวมทั้งรูปแบบการใช้พลังงานของลูกค้าแต่ละราย และประวัติการชำระเงิน ซึ่งในสถานการณ์ตลาดที่มีการแข่งขัน บริการด้านสาธารณูปโภค การวิเคราะห์ข้อมูลที่ดีสามารถพัฒนาความสัมพันธ์กับลูกค้า ด้วยการจับคู่ข้อเสนอที่เหมาะสม และมีความหลากหลายให้กับลูกค้าที่วิเคราะห์แล้วว่า “ใช่” โดยวิธีการสื่อสารที่เหมาะสม เพื่อให้กระบวนการข้อเสนอกับลูกค้าเกิดประโยชน์สูงสุด ในขณะที่บริการกิจการสาธารณูปโภค กำลังเปลี่ยนไปสู่การวิเคราะห์ขั้นสูง ( Advanced Analytics) เพื่อจัดกลุ่มลูกค้า [...]

SCI เข้าร่วมลงทุนในบริษัท ที ยูทิลิตี้ส์ จำกัด (TU)

12 มกราคม 2017|ข่าวในองค์กร|

การเข้าร่วมลงทุนในบริษัท ที ยูทิลิตี้ส์ จำกัด (TU) โดยเข้าซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ TU ในอัตราส่วน 40% ของทุนจดทะเบียนทั้งหมดของ TU หลังจากการเพิ่มทุน หรือคิดเป็น 200 ล้านบาท ปัจจุบัน TU ประกอบธุรกิจด้านการลงทุน โดยภายหลังจากการเพิ่มทุน TU มีแผนการลงทุนโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานต่างๆทั้งในประเทศและประเทศในภูมิภาคใกล้เคียง การเข้าถือหุ้นใน TU ครั้งนี้ส่งผลให้บริษัทเป็นผู้ถือหุ้น 40% ขณะที่ยังมีบมจ.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค (PF) ถือหุ้น 40% และกลุ่มบุคคลอื่นๆ ถือหุ้นอยู่ 20%

อสังหาฯเร่งเติมสภาพคล่องงดจ่ายปันผล-ระดมทุนหุ้นกู้

12 มกราคม 2017|ข่าวในองค์กร|

บริษัทจดทะเบียนกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เร่งเติมสภาพคล่องทางการเงิน ประกาศงดจ่ายปันผล วางแผนระดมทุนขายหุ้นเพิ่มทุนและหุ้นกู้ เพื่อใช้ในการขยายกิจการและรองรับโครงการอนาคต ด้านผู้บริหารเพอร์เฟคแจงเดินหน้าลดต้นทุนการเงิน ตั้งเป้าหมายลดค่าใช้จ่ายในการบริหารให้เหลือ 20% จาก 30% หวังยกระดับอันดับเครดิตของบริษัท  ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่มี สัญญาณการฟื้นตัว บริษัทจดทะเบียน ในกลุ่มอสังหาฯ เร่งระดมทุนเพื่อเพิ่มสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจในปีนี้  โดยเลือกจะใช้ช่องทางตลาดทุนและหุ้นกู้เป็นแหล่งทุน บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) S รายงานว่า คณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัท 1,624.71 ล้านบาท จากเดิมทุนจดทะเบียนจำนวน 7,348.29 ล้านบาท เป็นจำนวน 8,973 ล้านบาท โดยการออกหุ้นสามัญ เพิ่มทุน 1,624.71 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท เพื่อเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น 1,224.71 ล้านหุ้น สัดส่วน 14 หุ้นเดิมต่อ 13 หุ้นใหม่ราคาหุ้นละ 5 บาท เสนอขายต่อบุคคลในวงจำกัดตามแบบ มอบอำนาจทั่วไป ไม่เกิน 300 ล้านหุ้น และ รองรับการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท 100 ล้านหุ้น วัตถุประสงค์ของการเพิ่มทุน และการใช้เงินทุนในส่วนที่เพิ่มเงินที่ได้รับจากการเพิ่มทุนจะนำไปใช้ดังต่อไปนี้ เพื่อชำระคืนเงินกู้ให้แก่สถาบันการเงิน 3,000 ล้านบาท ภายในปี 2559 เพื่อเป็นเงินทุนเพิ่มเติมในการลงทุนขยายกิจการนอกจากนี้คณะกรรมการบริษัทมีมติงดจ่ายเงินปันผลประจำงวด ปี 2558 บริษัท เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) MJD แจ้งมติกรรมการบริษัทอนุมัติงดการจ่ายเงินปันผล เพื่อสารองเงินสดไว้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและเพื่อการลงทุนในอนาคตพิจารณาอนุมัติการออกและเสนอขายหุ้นกู้ ในวงเงินไม่เกิน 7,000 ล้านบาท บริษัท เจ.เอส.พี.พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน)หรือJSP แจ้งมติคณะกรรมการมีมติให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ในวงเงิน ไม่เกิน 1,500 ล้านบาท เพื่อใช้ในการดำเนิน ธุรกิจ นายธีรธัชช์ สิงห์ณรงค์ธร ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่กลุ่มสนับสนุน สายงานลงทุนสัมพันธ์ บริษัทพร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) PF เปิดเผยว่า ปีนี้บริษัทมีแผนที่จะเร่งดำเนินการลดค่าใช้จ่ายและต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายลง โดยในแง่ค่าใช้จ่ายการขายและบริหาร (SG&A) มีเป้าหมายที่จะลดลงให้เหลือระดับ 20% แม้จะยังสูงกว่าอุตสาหกรรมที่ 17% แต่ก็เป็นระดับ ที่ลดลงค่อนข้างมากหากเทียบกับตัวเลขเมื่อสิ้นปี 2558 ซึ่งอยู่ที่ 30% โดยค่าใช้จ่ายที่ลดลงนี้จะมาจากการควบคุมค่าใช้จ่ายในการขาย การเลือกใช้ช่องทางการโฆษณาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และอีกส่วนหนึ่งก็เป็นผลจากรายได้ที่คาดว่าจะเติบโตขึ้นแตะ 20,000 ล้านบาท จากที่ทำได้ราว 12,000 ล้านบาท เมื่อปีก่อน ทั้งนี้หากบริษัทสามารถทำได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ เชื่อว่าอัตรากำไรสุทธิของบริษัทจะเพิ่มขึ้นไปถึงระดับ 10% ตามเป้าหมายที่วางไว้ จาก ปีก่อนอยู่ที่ระดับ 2.8% สำหรับเป้าหมายการลดภาระดอกเบี้ยจ่ายนั้น บริษัทต้องเร่งเพิ่มเรทติ้งให้กับบริษัท ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ BB+ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม โดยบริษัทจำเป็นจะต้องสร้างการเติบโตของผลประกอบการให้เป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งในปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของบริษัทอยู่ที่กว่า 5% โดยบริษัทต้องการที่จะลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้เหลือประมาณ 4% โดยส่วนตัวคาดว่าจะเห็นการปรับอันดับเครดิต ในปี 2560 เพราะทริส เรทติ้งจะพิจารณาผลการดำเนินงานระยะ 1 ปี นอกจากนี้บริษัท มีแผนที่จะออกหุ้นกู้ชุดใหม่เพื่อมาแทน ชุดเก่าที่จะครบกำหนดในปีนี้ มูลค่าราว 5,000 ล้านบาท แต่จะเป็นการทยอยออก โดยอายุเฉลี่ยของหุ้นกู้น่าจะอยู่ที่ราว 3 ปี  "เป้าหมายอย่างหนึ่งของบริษัทในปีนี้คือการเร่งสร้างการเติบโต และลดต้นทุนในการดำเนินงานที่ยังค่อนข้างสูงอยู่ โดยเฉพาะในส่วนของค่าใช้จ่ายด้านการขายและบริหารที่ตั้งเป้าลดลงเหลือ 20% แม้ในปีนี้อาจจะพลาดเป้าไป แต่เชื่อว่าการเดินไปหาเป้าหมายตรงนี้จะช่วยทำให้ต้นทุนโดยรวมดีขึ้น" เป้าหมายยอดขายใหม่ในปีนี้ตั้งเป้าไว้ที่ 16,000 ล้านบาท จากปีก่อนที่ 11,000 ล้านบาท โดยมาจากการเปิดตัวโครงการใหม่ 17 โครงการ มูลค่ารวม 24,041 ล้านบาท ส่วน ในอนาคตบริษัทยังมีที่ดินเปล่าอยู่อีกราว 1,500 ไร่ ซึ่งสามารถรองรับการเปิดตัวโครงการใหม่ได้อีกราว 50,000 ล้านบาท โดยทำเลส่วนมากจะอยู่บริเวณชานเมือง และเป็นทำเลที่ใกล้กับแนวรถไฟฟ้าสายใหม่ๆ ธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก ล่าสุดบริษัทได้ประกาศร่วมทุนกับ บริษัท เอสซีไอ อิเลคตริค จำกัด (มหาชน)SCI เพื่อเข้าลงทุนในบริษัทและโครงการที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภค พื้นฐาน เช่น ธุรกิจไฟฟ้าและน้ำประปา โดยร่วมกันจัดตั้งบริษัท ที ยูทิลิตี้ส์ จำกัด ซึ่งบริษัท ถือหุ้นในสัดส่วน 40% และเอสซีไอ [...]